เมนู

เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ชื่อว่า พหิทธรรม
บทที่ 3 ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งบททั้ง 2.
ส่วนหมวด 3 แห่งอนันตระ (อตีตารัมมณติกะ) ท่านกล่าวกระทำ
ธรรมแม้ทั้ง 3 ประการ (อัชฌัตตะเป็นต้น ) เหล่านั้นนั่นแหละให้เป็นอารมณ์
เป็นไป.

ว่าด้วยสนิทัสสนติกะที่ 22



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งสนิทัสสนธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สนิทัสสนะ เพราะเป็นไปกับด้วยความเห็นกล่าวคือ
ความที่รูปนั้นอันจักขุวิญญาณพึงเห็น. ธรรมที่ชื่อว่า สัปปฏิฆะ เพราะเป็นไป
กับด้วยปฏิฆะ. กล่าวคือความเป็นคือการกระทบ. ธรรมเหล่านั้นเป็นไปกับด้วย
การเห็นและการกระทบ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า สนิทัสสนะ
สัปปฏิฆะ
. นิทัสสนธรรม กล่าวคือความที่รูปอันจักขุวิญญาณพึงเห็นไม่มี
แก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อนิทัสสนะ ธรรม
เหล่านั้นเป็นอนิทัสสนะด้วย เป็นสัปปฏิฆะด้วยโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ
ชื่อว่า อนิทัสสนสัปปฏิฆะ. บทที่ 3 ท่านปฏิเสธทั้ง 2 บท.

นี้เป็นการพรรณนาตามบทติกมาติกาเพียงเท่านี้